ไก่ชนกับภูมิปัญญาไทย สะท้อนภาพประวัติศาสตร์สังคมมิติ

ไก่ชนกับภูมิปัญญาไทย

ไก่ชนกับภูมิปัญญาไทย เป็นกีฬาพื้นเมืองที่เก่าแก่ชนิดหนึ่ง ของกลุ่มชนชาติเกษตรกรรม ที่สะท้อนภาพประวัติศาสตร์สังคมมิติ

วัฒนธรรมพื้นบ้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจกล่าวได้ว่าเป็นกีฬาประจำถิ่นของชนชาติต่างๆ แห่งคาบสมุทรทะเลใต้ เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ถ้ากล่าวในวงกว้างประเทศต่างๆ ในแดนสุวรรณภูมิ (หรือกลุ่มอาเซียน) ล้วนมีกีฬาชนไก่ก็จริง กีฬาชนไก่ ชนิดที่เรียกว่า “ดุเดือด” ก็ต้องแถบคาบสมุทรทะเลใต้ดังกล่าว จนกลายมาเป็น ไก่ชนกับภูมิปัญญาไทย

โดยเฉพาะทางฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ถึงขนาดใช้ใบมีดผูกติดกับเดือยแข้งอีกด้วย จึงต้องเรียกว่า “เลือดพล่าน” เพราะเป็นการชนไก่แบบให้ตายกันไปข้างหนึ่ง ซึ่งเป็นการทารุณสัตว์เกินไป ไม่คำนึงถึงเทคนิค การฝึกฝน การบำรุงเลี้ยงและศิลปะการต่อสู้ตามธรรมชาติของสัตว์ ตามประวัติศาสตร์กีฬาของการชนไก่นั้น ไก่ชนมีมาตั้งแต่สมัยตามพรลิงค์และสมัยศรีวิชัย

เนื่องจากเป็นชาติสังคมเกษตรกรรมที่นิยมเลี้ยงไก่กันมาก อาหารหาง่าย เป็นสัตว์เลี้ยงง่าย ไก่จึงถือเป็นสัตว์เลี้ยงประจำครอบครัว มีนักเดินเรือ ซึ่งจดหมายเหตุชาวอาหรับบันทึกไว้ว่า อาณาจักรศรีวิชัย ประชาชนตั้งบ้านเรือนเรียงรายกระจายกันไปตามแนวชายฝั่งทะเล และตอนเช้ามืดจะได้ยินเสียงไก่ขันร้องรับกันเซ็งแซ่ไปหมดตลอดทางหลายสิบกิโลเมตร

 

แหล่งอ้างอิง : https://ag2.kku.ac.th

อ่านเพิ่มเติม : ข่าวไก่ชน

ดูรายการทั้งหมด